วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โรงเรียนที่ชื่นชอบ




โรงเรียนอัสสัมชัญ (บ้างเรียก อัสสัมชัญบางรัก หรือ อัสสัมชัญกรุงเทพ, ย่อ: อสช, AC) เป็นโรงเรียนเอกชนชายล้วนขนาดใหญ่ในเครือจตุรมิตร ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แผนกประถม ซึ่งตั้งอยู่ในซอยเซนต์หลุยส์ 3 ถนนสาทรใต้ และแผนกมัธยม ซึ่งตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 40 (ซอยบูรพา) ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก
โรงเรียนอัสสัมชัญเป็นโรงเรียนแห่งแรกในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยโรงเรียนเซนต์หลุยส์ และโรงเรียนที่ใช้คำนำหน้าว่า "อัสสัมชัญ" ด้วยกัน 11 แห่ง และมหาวิทยาลัย 1 แห่ง[1]
โรงเรียนอัสสัมชัญ ได้รับการสถาปนาขึ้นโดยบาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 ปัจจุบันโรงเรียนมีอายุ 129 ปี เป็นโรงเรียนชายที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ[2] และเป็นโรงเรียนโรมันคาทอลิกแห่งแรกของประเทศ[3] มีศิษย์เก่าเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคน ทั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 2 คน, องคมนตรี 15 คน[4] และ นายกรัฐมนตรี 4 คน[5]  

ประวัติ[แก้]

ช่วงแรก[แก้]

ผู้ให้กำเนิดโรงเรียนอัสสัมชัญ คือ บาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ (คุณพ่อกอลมเบต์) อธิการโบสถ์อัสสัมชัญ ชาวฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2420 โดยเริ่มจากการให้การศึกษาแก่เด็กคาทอลิก (คริสตัง) ณ วัดสวนท่าน อันเป็นโบสถ์คาทอลิกแห่งหนึ่งในชุมชนแถบบางรัก ใกล้ริมฝั่งเจ้าพระยา เขาเข้ามาอาศัยในประเทศสยามแล้วประมาณ 5 ปี ท่านได้เริ่มให้การศึกษาแก่เด็ก ๆ ในละแวกนั้น ซึ่งมีทั้งเด็กคาทอลิกที่ยากจน และกำพร้า เพื่อให้เด็กเหล่านั้นได้มีความรู้ ด้วยการสอนวิชาความรู้และศาสนาควบคู่กันไป จากหนังสือประวัติกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2435 - พ.ศ. 2507 กล่าวถึงการจัดการศึกษาฝ่ายโรงเรียนราษฎร ว่า "...ใน พ.ศ. 2420 มีโรงเรียนไทย-ฝรั่ง ซึ่งต่อมาเรียกว่าโรงเรียนอัสสัมชัญ..."[6] อันที่จริง โรงเรียนไทย-ฝรั่งที่ว่านี้ ที่ถูกต้องคือ โรงเรียนไทย-ฝรั่งเศส วัดสวนท่าน ซึ่งตั้งขึ้น โดยบาทหลวงเอมิล กอลมเบต์ (Piere Emile Colombet) นั่นเอง โรงเรียนไทย-ฝรั่งเศสแห่งนี้ กล่าวได้ว่าคือรากฐานที่พัฒนามาสู่โรงเรียนอัสสัมชัญในอีก 8 ปีต่อมา โดยแรกเริ่มมีนักเรียน 12 คน
ในช่วงปีแรกนั้น นักเรียนยังมีจำนวนน้อย ท่านต้องเดินไปตามบ้านเพื่อขอร้องให้ผู้ปกครองส่งเด็กมาเรียนหนังสือกับท่าน จนต่อมาท่านก็ได้ใช้เนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ 3 งาน ตรงบริเวณนั้นก็มีบ้านของคุณพ่อกังตอง (pere Ganton) อันเป็นเรือนไม้เก่าขนาดเล็ก ๆ ที่สร้างขึ้นโดยมุขนายกฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว เมื่อ พ.ศ. 2392 เป็นบริเวณที่พักของคุณพ่อกังตองซึ่งเป็นหัวแรงใหญ่ในการดูแลงานโรงเรียน มีเรือนไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง ซึ่งกั้นเป็นห้องเรียนได้ 1 ห้อง และบนเรือนเป็นห้องเรียนได้อีก 1 ห้อง เป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน และมีลานเล่นทีมีหลังคามุงด้วยจาก พอให้นักเรียนได้มีที่กำบังแดดและฝนยามวิ่งเล่นอีกหลังหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้คุณพ่อกอลมเบต์ยังได้จ้างนายคอนอแว็น ชาวอังกฤษให้มาเป็นครูใหญ่ โรงเรียนของท่านได้เริ่มเปิดเรียนวันแรกในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 ตั้งชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนอาซมซานกอเล็ศ (Le Collège de l'Assomption) ซึ่งมีความหมายว่า สถานที่สำหรับระงับบาปและหาวิชาความรู้ ซึ่งในขณะนั้นมีนักเรียน 33 คน[7]
เมื่อจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สถานที่จึงคับแคบลง คุณพ่อกอลมเบต์ปรารถนาที่จะสร้างอาคารใหม่ ท่านจึงได้ออกเรี่ยไรเงินไปตามบ้านผู้มีจิตศรัทธาต่าง ๆ และได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาไปถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ซึ่งทั้งสองพระองค์ก็ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กับคุณพ่อกอลมเบต์เพื่อใช้ในการดำเนินงานการก่อสร้างเรียนครั้งนี้ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน 50 ชั่ง (4,000 บาท) และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระราชทาน 25 ชั่ง (2,000 บาท) พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และเจ้าขุนมูลนายต่าง ๆ ก็ได้ร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลในครั้งนี้ด้วยด้วยจำนวนนักเรียนเพียง 33 คน ทำให้ครูใหญ่รู้สึกท้อถอยและคิดจะลาออกกลับไปยังประเทศของตน แต่คุณพ่อกอลมเบต์ก็ได้ปลุกปลอบและให้กำลังใจเรื่อยมา จนในที่สุดก็มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 80 คน โดยนักเรียนคนแรกของโรงเรียน คือ ยวงบัปติส เซียวเม่งเต็ก (อสช 1)[8] ปีต่อมามีนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 130 คน การเรียนการสอนในยุคแรกเป็นภาษาไทยควบคู่กับภาษาฝรั่งเศส
ปี พ.ศ. 2439 จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นจนถึง 300 คน และเพิ่มเป็น 400 คนในปีต่อมา จนทำให้ภาระของคุณพ่อกอลมเบต์เพิ่มมากขึ้น ศิษย์ของท่านมีทั้งชาวไทย ชาวจีน แขก ฝรั่ง ทั้งที่นับถือศาสนาพุทธ โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาขงจื้อ ฯลฯ ทำให้ท่านมีเวลาเพื่อศาสนากิจอันเป็นงานหลักของท่านน้อยเกินไป ดังนั้นเมื่อตึกเรียนได้เริ่มใช้งานมา 10 ปีแล้ว คือเริ่มใช้งานในปี พ.ศ. 2433 การดำเนินงานของโรงเรียนก็เข้ารูปเข้ารอยมากขึ้น เมื่อท่านป่วยและต้องเดินทางกลับประเทศฝรั่งเศสเพื่อรักษาตัวในปี พ.ศ. 2433 ท่านจึงได้มอบหมายภาระทางด้านโรงเรียนนี้ให้กับคณะภราดาเซนต์คาเบรียล เพื่อมาดำเนินงานต่อจากท่าน เมื่อท่านได้กลับมาประเทศไทย หลังจากที่รักษาตัวที่อยู่ที่ฝรั่งเศสเกือบ 3 ปี ท่านยังแวะเวียนมาดูแลภราดรและโรงเรียนบ่อยครั้ง โดยเฉพาะทุกวันอาทิตย์และทุกปิดเทอมที่ท่านร่วมขบวนทัศนาจรด้วย[11]23 เมษายน พ.ศ. 2430 คุณพ่อกอลมเบต์ลงนามสัญญาก่อสร้างตึกเรียนหลังแรกกับมิวเตอร์กราซี (Mr. Grassi) สถาปนิกชาวอิตาลี ด้วยจำนวนเงิน 50,000 บาท และได้เริ่มวางรากฐานการก่อสร้างตึกหลังแรกของโรงเรียนซึ่งมีชื่อว่า "Le Collège de l'Assomption" (ซึ่งต่อมาเรียกว่า "ตึกเก่า") ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2430 และในวันที่ 15 สิงหาคม ปีนั้น อันเป็นวันสมโภชแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ (อัสสัมชัญ) ซึ่งนับว่าเป็นฤกษ์ดี คุณพ่อกอลมเบต์จึงเลือกการวางศิลารากโรงเรียนในวันนั้น โดยเชิญคุณพ่อดองต์ (d'Hondt) ผู้ช่วยมุขนายกมิสซังกรุงเทพมหานคร มาทำการเสกศิลา และได้พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งกลไฟชื่อ "อาเลกซันตรา" ซึ่งกรมหมื่นดำรงราชนุภาพอธิบดีกรมศึกษาธิการ พระยาภาสกรวงษ์ ผู้แทนเสนาบดีว่าการต่างประเทศ ได้นำคุณพ่อดองต์ และคุณพ่อกอลมเบต์ ไปรับเสด็จที่ท่า ผ่านกระบวนนักเรียน ตามทางประดับด้วยผ้าแดง ธงต่าง ๆ ต้นกล้วย ใบไม้ เสื่อลวด ดังปรากฏหลักฐานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 4 แผ่นที่ 18 หมายเลข 138 [9] ว่า "ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน 9 แรม 12 ค่ำ เวลาบ่าย 4 โมงเสศ...ทรงจับฆ้อนเคาะแผ่นศิลานั้น" แล้วดำรัสว่า ให้ที่นี้ถาวรมั่นคงสืบไป อาคารใหม่ (ตึกเก่า) หลังนี้ได้สร้างสำเร็จบริบูรณ์ใน พ.ศ. 2433[10]
ความแตกต่างระหว่างโรงเรียนเก่า (พ.ศ. 2420 - พ.ศ. 2427) กับโรงเรียนใหม่ (พ.ศ. 2428 เป็นต้นมา)[12][13] ของคุณพ่อกอลมเบต์ก็คือ โรงเรียนใหม่มิได้มุ่งสอนเฉพาะเด็กคาทอลิกอีกต่อไป หากเปิดกว้างสำหรับนักเรียนทุกเชื้อชาติ ศาสนา เมื่อพิจารณาช่วงเวลาที่โรงเรียนแห่งนี้เปิดสอนคือ พ.ศ. 2428 จะเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่รัฐกำลังจัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นตามวัด เพื่อให้ราษฎรทั่วไปมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนตามแบบหลวงที่ได้จัดให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์และบุตรหลานข้าราชการมาก่อนแล้ว เมื่อโรงเรียนอัสสัมชัญ หรืออาซมซาน กอเล็ศ เปิดขึ้นจึงเป็นการสอดรับกับนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐพอดี ทั้งยังเป็นการช่วยขยายการศึกษาออกสู่ราษฎรอีกประการหนึ่ง[14]

คณะเซนต์คาเบรียลรับช่วงต่อ[แก้]   



ในเวลานั้นโรงเรียนมีอาคารอยู่ 3 หลังด้วยกันคือ "ตึกเก่า" เรือนไม้หลังแรก บ้านคุณพ่อกังตอง และลานเล่นที่มุมด้วยหลังคาจาก ซึ่งเป็นที่เล่น พักผ่อน และที่ทำโทษให้ "ยืนเสา" เมื่อทำผิดในปี พ.ศ. 2443 บาทหลวงกอลมเบต์ได้ติดต่อขอความช่วยเหลือด้านบุคลากรมาจากคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ณ ประเทศฝรั่งเศส และในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2444 ภราดา 5 ท่าน โดยการนำของภราดามาร์ติน เดอ ตูรส์ ภราดาอาแบล ภราดาออกุสต์ ภราดาคาเบรียล เฟอร์เร็ตตี และภราดาฮีแลร์ ได้เดินทางถึงกรุงเทพมหานคร และเข้ารับช่วงงานและสานต่องานด้านการศึกษาจากบาทหลวงกอลมเบต์ ทำให้โรงเรียนอัสสัมชัญกลายเป็นโรงเรียนแห่งแรกในมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
ในสมัยนั้นคณะภราดาจะทำหน้าที่สอนภาษาฝรั่งเศสและจ้างครูมาสอนภาษาอังกฤษแต่มิได้เป็นครูประจำ ครูประจำมีแต่ภาษาไทยเท่านั้น แต่เมื่อชั้นเรียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องหาครูมาประจำตอนแรกก็เป็นพวกลูกครึ่งแขก-อังกฤษหรือลูกครึ่งโปรตุเกสบ้าง แต่แล้วในที่สุดก็พบว่านักเรียนเก่าของโรงเรียนที่จบออกมาแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กกำพร้านั้นสามารถทำงานได้อย่างดี เพราะคุ้นเคยกับวิธีการสอน และระบบการทำงานของโรงเรียนมากกว่าคนนอกเมื่อท่านภราดาเพิ่งเข้ามารับการสอนแทนคุณพ่อกอลมเบต์ใหม่ ๆ นั้น คุณพ่ออื่น ๆ ที่เคยเป็นครูก็ออกไปสอนศาสนากันทั้งสิ้น เหลือแต่คุณพ่อกังตองผู้เดียวที่เป็นพี่เลี้ยงให้แก่เหล่าภราดาและนักเรียน จนกระทั่งวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2455 คุณพ่อกังตองก็จากไปรับตำแหน่งใหม่ที่ฮ่องกง และมรณภาพที่นั่นในปีต่อมา ตอนนั้นเหล่าภราดาที่เข้ามาอยู่ใหม่ ๆ ยังไม่ชำนาญภาษาไทย จึงได้มีการจัดให้มีครูไทยกำกับแปลในชั้นเรียนต่ำ ๆ ที่เด็กยังไม่เข้าใจภาษาต่างประเทศ ปอล จำเริญ (ขุนสถลรถกิจ) จึงได้สมัครมาช่วยเป็นครูแปลให้ จนสิ้นปี พ.ศ. 2445 ภราดาต่าง ๆ ก็สามารถจะพูดไทยได้ดีขึ้น[15]
ตั้งแต่เริ่มแรก การเรียนปีหนึ่งจะเริ่มจากสัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์และเรียนเรื่อยไปจนวันที่ 21 ธันวาคมของทุกปี อันเป็นวันแจก Diploma Certificater และรางวัลต่าง ๆ สำหรับผู้ที่จบหลักสูตรและมีผลการเรียนดีเด่น ในวันนั้นจะมีการแสดงละครทั้งภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษ เป็นประเพณีทุกปี บรรดาผู้ปกครองได้รับเชิญให้มาร่วมในงานนี้ด้วย[16]

การพัฒนาโรงเรียนในช่วงก่อน พ.ศ. 2475[แก้]

วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ภราดามาร์ตินได้ขอเปลี่ยนโรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งขึ้นทะเบียนของกระทรวงธรรมการอย่างโรงเรียนมัธยมพิเศษ เป็นโรงเรียนอุดมศึกษา และขอให้เจ้าพนักงานไปควบคุมการสอบไล่ของนักเรียน พ.ศ. 2455 แต่ทางกระทรวงฯ ก็ยังไม่ได้รับรองเทียบเท่าชั้นมัธยม 6 ให้เพราะจัดสอบไล่เองและข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด กระทรวงฯ มิได้เป็นผู้ตัดสินและตรวงสอบ จนกระทั่งในการสอบปลายปี 2485 โรงเรียนจึงได้ใช้ข้อสอบของกระทรวงฯ ซึ่งเป็นภาษาไทยแทน ในปี พ.ศ. 2456 ได้มีการจัดตั้งสภานักแต่งชื่อ "อัสสัมชัญอาคาเดมี" ขึ้นเพื่อรับสมาชิกเอก โท ตรี สำหรับนักเรียนที่ยังเรียนอยู่ และผู้ที่ออกไปแล้วจะได้หัดแต่งเรื่องราวให้มีโวหารสำนวนน่าชวนอ่าน และได้มีการจัดตั้ง "อัสสัมชัญยังแม็น" (A.C.Y.M.A.) สำหรับนักเรียนใหม่มีโอกาสรื่นเริงบันเทิงใจด้วยกัน และคบหาสมาคมกับนักเรียนเก่าที่เป็นผู้ใหญ่ รู้ขนบธรรมเนียมของโลกและการงานต่าง ๆ ด้วย ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2457 ได้เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นแถวบางรัก เพลิงโหมตั้งแต่บ่ายสามถึงราวเที่ยงคืน อยู่ห่างจากโรงเรียนเพียง 2-3 ร้อยหลา[17]
ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2457 ได้มีการเปิดการแข่งขันกรีฑาของคณะเซนต์คาเบรียล (Gymkhana) ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยโรงเรียนอัสสัมชัญก็ได้เข้าร่วมในกรีฑาครั้งนี้ด้วย และในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2458 เป็นวันที่โรงเรียนมีนักเรียนที่กำลงศึกษาอยู่ถึง 1,000 คน จากนั้น 2 ปี เกิดเหตุการณ์ไข้หวัดใหญ่ระบาดในช่วงวันที่ 15-25 ตุลาคม พ.ศ. 2461 ทำให้โรงเรียนหยุดชั่วคราว มีครูและนักเรียนป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่เป็นอันมาก ต่อมา เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้เมื่อตี 4 ของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ที่บ้านติดกับเรือนไม้ของโรงเรียน ทุกคนเห็นตรงกันว่า โรงเรียนรอดมาได้ราวกับปฏิหาริย์ เพราะคำภาวนาของท่านภราดามาร์ติน เดอ ตูรส์ ซึ่งคุกเข่าสวดมนต์หันหน้าเข้าหาไฟอยู่บนระเบียงของเรือนไม้[18]
วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2463 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สภานายกหอสมุดวิชรญาณสำหรับพระนคร ได้เสด็จทรงเยี่ยมดูโรงเรียนและพบปะกับภราดาฮีแลร์เพื่ออธิบายความคิดเห็นของพระองค์ในเรื่องหนังสือดรุณศึกษา ซึ่งภราดาฮีแลร์เป็นผู้แต่งขึ้นสำหรับใช้สอนภาษาไทยให้กับเด็กๆ[19] โดยมีภราดาหลุยส์ อีแบร์ ครูวาดเขียนเป็นผู้วาดรูปถ่าน และรูปสีต่างๆประกอบ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2469พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จเยี่ยมชมกิจการของโรงเรียน พระองค์ได้ประทาน พระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า[20]
...ที่จริงโรงเรียนนี้ข้าได้คิดมานานแล้วว่าอยากจะมาดูสักทีหนึ่ง เพราะว่าในการที่พวกคณะโรมันคาทอลิกอุตสาหะสร้างโรงเรียนนี้ขึ้น ก็นับว่าเป็นกุศลเจตนาบุญกิริยา ซึ่งน่าชมเชยและน่าอนุโมทนาเป็นที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง สมเด็จพระบรมชนกนาถของข้าจึงได้ทรง อุดหนุนมาเป็นอันมากและก็การที่โรงเรียนนี้ได้รับความอุดหนุน รับพระมหากรุณาของพระเจ้าอยู่หัว มาทุกรัชกาลนั้นก็ไม่เป็นการเปล่าประโยชน์และผิดคาดหมาย เพราะโรงเรียนนี้ได้ตั้งมั่นคงและได้ทำการสั่งสอนนักเรียนได้ผลดีเป็นอันมากสมกับที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณในพระเจ้าแผ่นดินเป็นลำดับมาโรงเรียนนี้ได้เพาะข้าราชการและพลเมืองที่ดีขึ้นเป็นอันมาก นักเรียนเก่าของโรงเรียนนี้ได้รับราชการในตำแหน่งสูง ๆ อยู่เป็นอันมาก...
ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2470 พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีนิวัติ ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการก็ได้เสด็จทรงเยี่ยมโรงเรียนอย่างเป็นทางการ โรงเรียนได้จัดงาน "สุวรรณสมโภช" หรือการฉลองครบรอบ 50 ปีในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2476

การนัดหยุดเรียนประท้วงของนักเรียนอัสสัมชัญและเซนต์คาเบรียล[แก้]

ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2475 นักเรียนชั้นโตของโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนเซนต์คาเบรียล นัดหยุดเรียน และไปชุมนุมในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2475 ที่บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงการธรรมการ เพื่อเสนอข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ ให้ลดค่าเล่าเรียนตามสมควร ให้หยุดเรียนในวันพิธีของศาสนาพุทธ และให้รับนักเรียนที่ถูกไล่ออกกลับเข้าเรียน ในที่สุด โรงเรียนให้คำตอบ ปรกติโรงเรียนก็พิจารณาลดค่าเล่าเรียนให้นักเรียนที่มีฐานะไม่ดีจ่ายค่าเล่าเรียนตามกำลังทรัพย์อยู่แล้ว และโรงเรียนยังมีเด็กกำพร้าและเด็กอนาถาที่งดเก็บค่าเล่าเรียน และจะต้องเลี้ยงดูอยู่หลายร้อยคน จึงขอให้พวกมีฐานะที่จะเสียได้ ได้ช่วยกันเสียค่าเล่าเรียนตามที่กำหนดด้วย ส่วนวันหยุดนั้นไม่อาจจะวางตายตัวได้ เพราะที่โรงเรียนเรียนมีนักเรียนหลายศาสนามาก หากหยุดก็ต้องหยุดในวันศาสนาอื่น ๆ ด้วย ซึ่งจะเป็นการยุ่งยาก แต่อย่างไรก็ตามก็ได้อนุญาตให้นักเรียนลาหยุดในวันศาสนาของแต่ละคนอยู่แล้วมิได้ขัดขวาง ส่วนจะให้รับนักเรียนที่ถูกไล่ออกไปกลับเข้าเรียนตามเดิมนั้นคงจะเป็นไปไม่ได้ ด้วยจะทำให้โรงเรียนเสียระบบการปกครองไป
ในการหยุดเรียนคราวนั้นโรงเรียนได้ปิดตัวเองไปเป็นเวลา 1 เดือนเต็ม ๆ โดยถือโอกาสเป็นปิดเทอมแทนเดือนตุลาคมไป และเปิดเรียนใหม่อีกครั้งหนึ่งในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2475 เหตุการณ์ครั้งนั้นนับว่าเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของนักเรียนบางคนเท่านั้น[21]

การพัฒนาโรงเรียนหลัง พ.ศ. 2475[แก้]

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2481 โรงเรียนก็ได้เปิดแผนกพาณิชย์ขึ้นในโรงเรียน โดยมีภราดาโรกาเซียงเป็นผู้ควบคุมดูแล ต่อมาแผนกนี้ได้ถูกย้ายไปเปิดเป็นโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการปัจจุบัน ต่อมาโรงเรียนอัสสัมชัญได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จเยี่ยมโรงเรียนอย่างไม่เป็นทางการ โดยทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมอาสนวิหารอัสสัมชัญ ก่อนที่จะเสด็จพระราชดำเนินกลับ โดยคุณพ่อโชแรง บาทหลวงอาสนวิหารอัสสัมชัญ ได้นำเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมชมโรงเรียนอัสสัมชัญด้วย และในปี พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแสดงคอนเสิร์ต ซึ่งจัดโดยสถานทูตฝรั่งเศส ณ หอประชุมสุวรรณสมโภช ในวโรกาสที่โรงเรียนเฉลิมฉลองครบรอบ 75 ปี วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชก็ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานวชิรสมโภชอีกด้วย[22][23]

จากความคิดเพื่อต้องการเชื่อมความสามัคคีของครูอาจารย์และนักเรียน ระหว่างโรงเรียนชายล้วนเก่าแก่ทั้ง 4 แห่งของไทย ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และโรงเรียนอัสสัมชัญ มาสเตอร์บรรณา ชโนดม อาจารย์ใหญ่โรงเรียนอัสสัมชัญในขณะนั้น จึงตัดสินใจร่วมมือจัดการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีระหว่าง 4 สถาบันขึ้น ซึ่งได้เริ่มขึ้นครั้งแรกในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ณ สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ[24]

โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม[แก้]

สืบเนื่องจากโรงเรียนอัสสัมชัญคับแคบ ประกอบกับจำนวนนักเรียนทุกระดับชั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้ต่อมาได้มีแนวคิดที่จะแยกแผนกประถมและแผนกมัธยมศึกษาออกจากกัน และในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2508 ก็เริ่มมีการก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรกของแผนกประถมศึกษา คือ "ตึกมาร์ติน เดอ ตูรส์"[25] บนสนามส่วนหนึ่งของโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ด้านติดเซนต์หลุยส์ซอย 3 ถนนสาทรใต้ ซึ่งมีเนื้อที่กว่า 5 ไร่ 4 งาน ใน พ.ศ. 2509 นักเรียนชั้นประถม 1-4 ได้ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถมม ณ เลขที่ 90/1 ซอยเซนต์หลุยส์ 3 ถนนสาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพฯ เพื่อลดจำนวนนักเรียนลงให้พอกับห้องเรียนที่มีอยู่ขณะนั้น
เปิดสอนเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 มีภราดาวิริยะ ฉันทวโรดมดำรงตำแหน่งอธิการ และเริ่มให้นักเรียนเข้าเรียนวันแรกเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 โดยพระอัครสังฆราชยอแซฟ ยวง นิตโย เป็นผู้เสกอาคาร และหม่อมหลวง ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี[26][27]
ปัจจุบันโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ส่วนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ใช้ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรักเช่นเดิม

หลังแยกแผนกประถมศึกษา[แก้]

ใน พ.ศ. 2513 ตึกเก่า ซึ่งมีอายุได้ 80 ปีแล้ว ถูกรื้อถอนเพื่ร้างอาคารเรียนหลังใหม่ชื่อ ตึก ฟ.ฮีแลร์ ในช่วงระหว่างกำลังก่อสร้างอาคาร ทำให้ห้องเรียนไม่เพียงพอสำหรับใช้ในการเรียนการสอน นักเรียนในขณะนั้นต้องผลัดกันเรียนเป็นผลัดเช้าและผลัดบ่ายที่ตึกกอลมเบต์ จึงเป็นที่มาของชื่อรุ่น สองผลัด ของนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2515 และนักเรียนรุ่นนั้น (พ.ศ. 2505 - 2517) ยังเป็นนักเรียนรุ่นสุดท้ายที่ได้เรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เขตบางรัก ตลอดตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 จนจบการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5[29] รุ่นต่อจากนี้จะย้ายไปเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถมแทนใน พ.ศ. 2511 ภราดาพยุง ประจงกิจได้ตั้งคณะ "วาย.ซี.เอส" (Y.C.S) ขึ้นเพื่ออบรมสั่งสอนให้นักเรียนคาทอลิกได้รู้จักการเป็นคาทอลิกที่ดีอยู่ในศีลธรรม ตามคำสอนของศาสนา[28] ส่วนบัตรประจำตัวนักเรียนเริ่มใช้ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2513 เป็นวันแรก
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเปิด ตึก ฟ.ฮีแลร์ ในปีเดียวกัน วันที่ 30 มิถุนายน สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินมายังหอประชุมสุวรรณสมโภชของโรงเรียน เพื่อทอดพระเนตรละครเรื่อง "อานุภาพแห่งความเสียสละ" ซึ่งจัดขึ้น ณ หอประชุมสุวรรณสมโภช และได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 2,000 บาท แก่โรงเรียนเพื่อสมทบทุนสร้างตึก "ฟ. ฮีแลร์"[30] ต่อมาในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 จอมพล ถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ ได้มาเป็นประธานเปิดงานชุมนุมผู้แทนองค์การศาสนา ครั้งที่ 8 ณ หอประชุมสุวรรณสมโภช สองปีถัดมาในปี พ.ศ. 2517 มีการจัดตั้งสภานักเรียนขึ้น ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนรูปแบบเป็นคณะกรรมการนักเรียน[31] ใน พ.ศ. 2527 โรงเรียนอัสสัมชัญมีอายุครบ 100 ปี ขณะนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 อยู่ระหว่างเสด็จเยือนประเทศไทย และพระองค์ทรงเสกศิลาฤกษ์ ตึกอัสสัมชัญ 100 ปี ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2529พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแสดงโขนชุด "สมโภชพระราม" ในงานสมโภชอัสสัมชัญ 100 ปี ณ หอประชุมสุวรรณสมโภช ภายในโรงเรียน[32]
วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2530 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานงานเฉลิมฉลองวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนครบรอบ 100 ปี (15 สิงหาคม 2430) และเป็นครั้งแรกที่คณะนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญร่วมกันแปรอักษร ที่สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์คอมพิวเตอร์แห่งใหม่ในโรงเรียนอัสสัมชัญ ในโอกาส "ครบรอบ 108 ปี โรงเรียนอัสสัมชัญ" ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในศุภวาระสมโภชครั้งนี้ด้วย ต่อมา ในสมัยภราดาวิริยะ ฉันทวโรดม เป็นอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญสมัยที่ 2 นับได้ว่าเป็นช่วงสำคัญของโรงเรียนอัสสัมชัญ อาทิเช่น โรงเรียนได้รับเชิญจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา ไปแสดงศิลปะและวัฒนธรรมไทยเทิดพระเกียรติ ณ โอเปร่าฮอล กรุงออตตาวา เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 เป็นต้น ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2541 โรงเรียนอัสสัมชัญได้เป็นเจ้าภาพเปิดงานประชุมสมัชชาภราดาภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ในเครือนักบุญหลุยส์ เดอ มงฟอร์ต ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2542 คณะนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ ร่วมแปรอักษรกับ 4 สถาบันจตุรมิตรในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 ณ สนามศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต[33]
นอกจากนี้ ทุก 2 ปี ในวันที่ 1 กรกฎาคม คณะนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญจะร่วมแปรอักษรกับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ในงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ (ยกเว้น พ.ศ. 2554 โรงเรียนกลุ่มจตุรมิตรสามัคคีร่วมแปรอักษรในวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ครบ 100 ปี)[34][35]
วัที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556 ณ โรงเรียนอัสสัมชัญ มีการรวมตัวของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "กลุ่มกู้อัสสัมชัญ" ซึ่งอ้างว่าภราดา อานันท์ ปรีชาวุฒิ อธิการโรงเรียน ใช้เงินฟุ้มเฟือย เช่น นำเงินของนักเรียนและผู้ปกครองไปสร้างโรงเรียนอัสสัมชัญ แคมปัส พระราม 2 การเรียกเงินบริจาค (แป๊ะเจี๊ย) ในราคาสูง เป็นต้น และการบริหารโรงเรียนจนตกต่ำ จำนวนนักเรียน ป.6 ที่เลือกลาออกไม่ต่อ ม.1 ที่โรงเรียนอัสสัมชัญเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ 5 เท่า จนทำให้หลายฝ่าย ทั้งคณะครูโรงเรียนอัสสัมชัญ ศิษย์ปัจจุบัน และศิษย์เก่า รวมตัวกันขับไล่ภราดา อานันท์ ให้ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญ โดยช่องทาง เช่น เฟซบุ๊คของกลุ่ม "กู้อัสสัมชัญ"[36][37] จนเมื่อเวลาประมาณ 5 นาฬิกาของวันที่ 25 มกราคม 2556 ได้มีคำสั่งหยุดโรงเรียนอย่างกะทันหันจากผู้มีอำนาจสั่งการตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2556 แล้วภราดา อานันท์ ปรีชาวุฒิ ก็ไม่ได้ปรากฏตัวอีกเลยนับตั้งแต่เหตุการณ์นั้น จนมีคำสั่งให้พักการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม และในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนอัสสัมชัญประถม
มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยลงนามให้ ภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม และในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนอัสสัมชัญประถม ชั่วคราว[38] จนวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ภราดา วิริยะ ฉันทวโรดม ดำรงตำแหน่งอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญ และภราดา ดร.เดชาชัย ศรีพิจารณ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญ จนถึงปัจจุบัน[39] นับเป็นการแบ่งตำแหน่งผู้อำนวยการและอธิการเป็นครั้งแรก

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้]

ชื่ออัสสัมชัญ[แก้]

เดิมโรงเรียนใช้ภาษาฝรั่งเศส "Le Collège de l'Assomption" ซึ่งคุณพ่อกอลมเบต์ใช้ชื่อในภาษาไทยว่า "โรงเรียนอาซมซาน กอเล็ศ" แต่คนภายนอกมักเรียกและเขียนผิด ๆ เนื่องจากคำนั้นออกเสียงยากและประกอบกับกรมศึกษา กระทรวงธรรมการ มีนโยบายให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นภาษาไทย ดังนั้น ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2453 ภราดาฮีแลร์จึงได้แจ้งไปทางกรมการศึกษาเพื่อขอเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนอาศรมชัญแต่อธิบดีกรมศึกษา พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ แนะนำว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนอัสสัมชัญ ไม่เพียงแต่การออกเสียงยังคล้ายกับชื่อเดิม ความหมายก็คงไว้ตามเดิมของคำว่า "อาศรมชัญ" ด้วย ดังนั้นในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2453 โรงเรียนอาซมซานกอเล็ศจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น โรงเรียนอัสสัมชัญ
คำว่า "อัสสัมชัญ" นี้ออกเสียงคล้ายกับภาษาอังกฤษว่า "Assumption" และยังมีคำในภาษาบาลีว่า "อัสสโม" แผลงเป็นไทยว่า "อาศรม" ซึ่งหมายความถึง "กุฏิที่ถือศีลกินพรต" ส่วนคำว่า "ชัญ" ก็ จะแยกตาม ชาติศัพท์เดิม ก็ได้แก่ ธาตุศัพท์ว่า "ช" ซึ่งแปลว่า เกิด และ "ญ" ซึ่งแปลว่าญาณ ความรู้ รวมความได้ว่า "ชัญ" คือที่สำหรับเกิด ญาณความรู้ เมื่อรวมสองศัพท์ มาเป็นศัพท์เดียวกันแล้ว ได้ว่า "อัสสัมชัญ" คือ "ที่สำหรับระงับบาปและหาวิชาความรู้"[40]

ความหมายของตราโรงเรียนอัสสัมชัญ[แก้]

ตราโล่ คือ เครื่องป้องกันศัสตราวุธทั้งปวง มีลักษณะเป็นโล่ พื้นสีแดงคาดสีขาวตรงกลาง มีตัวอักษร AC สีน้ำเงินไขว้กันอยู่กลางโล่ และตัวเลข 1885 คือปีคริสต์ศักราชที่บาทหลวงเอมิล กอลมเบต์ ก่อตั้งโรงเรียน นอกจากนี้ สีที่ปรากฏบนโล่ยังเตือนใจให้รำลึกถึงชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์[41]

ธงประจำโรงเรียน[แก้]

ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 4 x 6 ส่วน มีสีพื้นแบ่งเป็น สามแถบเท่ากันตามแนวนอน เป็นสีประจำโรงเรียน โดยสีแดงอยู่แถบบนและล่าง มีสีขาวอยู่แถบกลาง และมีตัวอักษร AC สีน้ำเงินไขว้อยู่กลางผืนธง[42]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น